อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์พลิกโลก
กับ เกร็ดชีวิต 7 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้
ชื่อของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชื่อดังกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถือเป็น นักวิทยาศาสตร์ที่เคยพลิกโฉมวงการ จากการคิดค้นสมการ E = mc2 และนั่นถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การเปลี่ยนแปลง และพัฒนา และเป็นต้นกำเนิดสิ่งต่างๆมากมาย
1. เป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อมาก นับเป็นความบังเอิญอันแปลกประหลาดในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์โลก ที่วันเกิดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ วันที่ 14 มีนาคมนั้น ตรงกับวันเสียชีวิตของ สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง โดยทั้ง 2 คนถือเป็น
นักฟิสิกส์อัจฉริยะ ที่ได้รับการยกย่องจากทั่วโลก
สำหรับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เกิดวันที่ 14 มีนาคม 1879 ขณะที่ วันเสียชีวิตของ สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง คือวันที่ 14 มีนาคม 2018
2. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นผู้พลิกโฉมวงการวิทยาศาสตร์โลก จาก สมการที่ โด่งดังที่สุดในโลกอย่าง E = mc2 ซึ่ง E คือพลังงาน, m คือมวล และ c คือความเร็วแสงในสุญญากาศ ซึ่งเป็นรากฐานระเบิดปรมาณูที่ใช้ใน
สงครามโลกครั้งที่ 2
โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นเพียงคนคิดสมการพลิกโลก E = mc2 มันเป็นเพียงรากฐานของระเบิดปรมาณู แต่มันไม่ใช่สูตรการสร้างระเบิด... และเขาเอง ก็เสียใจไม่น้อย ที่ความฉลาดหลักแหลมของเขาเป็นการเปิดประตูสู่การคร่าชีวิตคนนับหมื่นนับแสนโดยไม่ตั้งใจ
สำหรับ ประเด็นนี้ ที่เป็นข้อกล่าวหาต่อ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่เป็นรากฐานของระเบิดปรมาณู สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง นักฟิสิกส์ชื่อดังในโลกยุคใหม่ แก้ต่างให้ว่า การตำหนิ ไอน์สไตน์นั้นก็เป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล เหมือนตำหนิเซอร์ไอแซค นิวตัน ว่า เป็นคนทำให้เครื่องบินตก เพราะ ค้นพบเรื่องแรงโน้มถ่วง
3. หลายๆคำคมในโลกออนไลน์ ที่มักจะกล่าวอ้างถึงว่า มาจากคำพูดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นั้น , ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำพูดที่ผิดเพี้ยน และหา การอ้างอิงเดิมไม่ได้
แต่อย่างไรก็ตาม คำพูดที่ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" วรรคทองประโยคนี้ เขาเป็นคนพูดจริงๆ โดย “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” เป็นประโยคหนึ่งที่อยู่ในบทสัมภาษณ์ของไอน์สไตน์ ที่ชื่อ What Life Means to Einstein : An Interview by George Sylvester Viereck ในวารสารรายสัปดาห์ฉบับหนึ่งของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อ Saturday Evening Post ฉบับประจำวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ.1929
4. สิ่งที่คนจดจำ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ดีที่สุดก็คือสมการ E = mc2 แต่ความจริงแล้ว เขายังคิดเรื่องสำคัญๆ อีกมาก อาทิ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก , การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน,ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ,ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
โดยสิ่งที่ไอน์สไตน์ค้นพบไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์เป็นรูปธรรม แต่มันคือความเข้าใจต่อจักรวาลอันเวิ้งว้างกว้างใหญ่ไพศาล และความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างอวกาศกับกาลเวลา
ส่วน เรื่อง "สัมพัทธภาพ" ที่หลายคนตั้งคำถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อธิบายแบบสั้น และง่ายที่สุด โดยบอกว่า “ก่อนหน้านี้ เชื่อกันว่าเวลาและอวกาศแยกขาดจากสสาร ทฤษฎีของผมบอกว่า เวลาและอวกาศนั้นแยกจากกันไม่ได้”
5. ข้อความ "ชีวิตที่เรียบง่ายและเงียบสงบ จะนำความสุขมาให้ยิ่งกว่าการไล่ติดตามความสำเร็จ รวมทั้งความกังวลทั้งหลายที่มากับมันตลอดเวลาด้วย" ที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เขียนลงกระดาษจดของโรงแรมอิมพีเรียลในกรุงโตเกียวเมื่อปี 1922 ถูกนำออกประมูลที่กรุงเยรูซาเลมของอิสราเอล และมีผู้ซื้อไปในราคาประมูลสูงสุดถึง 1.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 52 ล้านบาท) เมื่อปี 2017
สำหรับ กระดาษจดโน้ตแผ่นนี้ เรียกกันสั้นๆง่ายๆว่า "ทฤษฎีแห่งความสุข" เขียนขึ้น ในช่วงหลังจากที่เขาได้รับทราบว่าจะได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ไม่นาน
6. ในปี 1921 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้รับรางวัล โนเบล สาขาฟิสิกส์ จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก Photoelectric effect ได้อย่างสมบูรณ์
แต่ความจริงแล้ว เรื่อง โฟโตอิเล็กทริก photoelectric effect นั้น คนแรกที่พิสูจน์ถึงการมีอยู่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้ คือคนแรก ก็คือ ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ (Heinrich Rudolf Hertz) ตั้งแต่ปี 1887 (เฮิร์ตซ์ ได้รับการยกย่อง จนนำ
มาใช้เป็นชื่อ หน่วยวัดความถี่ Hz) ก่อนจะถูกพัฒนาจนสมบูรณ์โดยไอน์สไตน์
7. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กับภาพแลบลิ้นในตำนาน - ภาพนี้ถูกถ่ายในวันเกิดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในวันครบรอบ 72 ปี ในวันที่ 14 มีนาคม 1951 ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในอีก 4 ปีต่อมา โดยภาพนี้ถูกถ่ายโดยช่างภาพ อาร์เธอร์ ซาสเซ่ (Arthur Sasse) โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ชอบรูปนี้ของตัวเองมาก จึงขอให้ทาง United Press ต้นสังกัดของอาร์เธอร์ ซาสเซ่ (Arthur Sasse) ส่งภาพก็อปปี้ มาให้เขาถึง 9 ใบ และเขาก็เขียนลายเซ็นลงไปและ ภาพต้นฉบับภาพหนึ่ง ที่ถ่ายในวันนั้น ถูกออกนำมาประมูล เมื่อ 19 มิถุนายน 2009 และสามารถทำเงินได้ถึง $74,324 หรือราวๆ 2.5 ล้านบาท
สำหรับ ชีวิตของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เขาถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญวงการวิทยาศาสตร์โลก แต่อย่างไรก็ตาม การกล่าวถึงเขา การอ้างอิงถึงเขา มักจะมีเรื่องที่ทำให้ คนเข้าใจผิดจำนวนมาก อาทิ สิ่งที่เข้าใจกันผิดก็คือ ไอน์สไตน์ เรียนได้ต่ำกว่าเกณฑ์ในโรงเรียน แต่ในเป็นความจริงแล้ว ไอน์สไตน์ เรียนวิทยาศาสตร์ได้ยอดเยี่ยม เป็นต้น
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลจาก : https://www.springnews.co.th/news/819101